Case Study BR31

การสร้างแรงบันดาลใจให้มากขึ้น

 โดยการจัดอีเวนท์ภายในบริษัท

2017-06-30 : การสำรวจ Mystery Shopping Research ร้านอาหาร จำนวนมากกว่า 100 สาขา

บริษัท บีอาร์เทอร์ตี้วัน

หาข้อมูล:Takashi Tonami, Yuri Miyaguchi
**ข้อมูลบริษัทหรือตำแหน่งงาน อ้างอิงจากช่วงเวลาที่สัมภาษณ์จริง

    บริษัท B-R เทอร์ตี้วัน ปัจจุบันได้ขยายสาขาไปทั่วประเทศญี่ปุ่น มีจำนวนกว่า 1,100 สาขา ซึ่งเป็นจำนวนที่รวมสาขาแฟรนไชส์แล้ว บริษัทได้สร้างสรรค์ความเป็นหนึ่งเดียวในร้านค้า และได้ก่อร่างสร้างกิจการมาตั้งแต่เมื่อ 3 ปีก่อน แล้วได้มีการจัดประกวดภายในบริษัทเมื่อปีที่แล้ว มีผู้เข้าร่วมจากทั่วประเทศ ด้วยโครงการที่ชื่อว่า “31-PRIDE” โดยการจัดประกวดนี้มีการใช้ Mystery Shopping Research (จากนี้จะเรียกว่า MSR) เข้ามาร่วมประเมินเพื่อให้การประกวดดูมีเอกลักษณ์มากขึ้น โดยในบทความนี้เราได้สัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนร่วมในการจัดการประกวดและความสำเร็จที่ได้ ผู้ที่ให้สัมภาษณ์คือแผนกส่งเสริมการขายอันประกอบไปด้วย คุณอาคิฮิโระ ซาโต้, คุณเคย์จิ สุซุกิ, คุณไอมิ จิบะ, คุณริกะ โทโมนากะ

 

 

 โครงการ “31-PRIDE” ซึ่งมีจุดประสงค์ในการชี้นำทุกร้านสาขาไปในทิศทางเดียวกันนี้ ท่านช่วยแนะนำได้หรือไม่ว่า มีเนื้อหาและรายละเอียดอย่างไร                                                

    ”31-PRIDE” จัดขึ้นโดยสำนักงานใหญ่ของเทอร์ตี้วัน และการประกวดนี้จะเปิดให้ทุกสาขาได้เข้าร่วมด้วย โดยจะเป็นเหมือนการแข่ง GRAND PRIX ที่มีหัวข้อมากมายเช่น ความสามารถในการขาย, MSR, การแข่งข้อเขียน, การแข่งบทบาทสมมุติ, การแข่งสุนทรพจน์ เป็นต้น โดยการประกวดในครั้งนี้จะมีผู้จัดการสาขาเป็นคนนำ เพื่อให้ทั้งสาขาสามารถประกวดออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากเป็นการประกวดที่มีทั้งชี้วัดทักษะการขาย รวมไปถึงการใช้ MSR ฉะนั้นแล้ว แต่ละสาขาจะไม่ได้ชี้วัดกันเพียงแค่ว่า ผู้จัดการทำได้ดีเพียงเท่านั้น แต่ถ้าหากว่าทั้งสาขาไม่สามารถร่วมมือกันทั้งทีมก็ไม่สามารถเอาชนะการประกวดนี้ได้นั่นเอง บริษัทของเรามีปรัชญาคือ "We make people happy (ส่งผ่านความสุขผ่านไอศกรีม)" เพื่อที่จะสามารถให้บริการผ่านปรัชญานี้ได้อย่างเต็มที่ เราจึงมีหลักการ HAPPY TREE

     โดยหลักการ HAPPY TREE นี้ คือการย้ำให้พนักงานที่บริการหน้าร้านมี “Clean & Smile” นอกจากนั้น ยังมีเรื่องของการกำหนดพนักงานดีเด่นด้วย Excellent Staff Challenge และการที่นำ MSR เข้ามาใช้ใน ”31-PRIDE” นี้ ก็เพื่อที่จะได้เห็น “สายตาของลูกค้า” ที่ประเมินว่าร้านของเราเป็นอย่างไร

    การประเมินความสามารถในการขายนั้น เรามีเวลาให้ 10 วัน โดยในระยะเวลานี้เราอนุญาตให้เข้าร่วมได้หลายครั้ง นี่ถือเป็นเอกลักษณ์ที่อนุญาตให้เข้าร่วมได้หลายครั้งในระยะยาว แม้จะบอกว่าเป็นการประกวดก็ตามแต่เราไม่ได้มีการกำหนดตายตัวว่าต้องเป็นการทำตามลำดับขั้นตอน ภาพรวมแล้วเราจะต้องเห็นพนักงานมีแรงจูงใจในการทำงานเพิ่มขึ้นจากกิจกรรมนี้นั่นเอง เมื่อพนักงานร่วมประเมินแล้วยังได้ผลลัพธ์ไม่เป็นที่น่าพอใจ ก็สามารถเข้าร่วมแข่งขันใหม่ได้โดยไม่มีเงื่อนไขซับซ้อน

 

คุณอาคิฮิโระ ซาโต้, คุณเคย์จิ สุซุกิ, คุณไอมิ จิบะ, คุณริกะ โทโมนากะ แผนกส่งเสริมการขายผู้ให้สัมภาษณ์

 "31-PRIDE" จากรอบแรกไปจนถึงรอบสุดท้ายที่เป็นการประกวดในระยะยาว มีการประเมินด้วยกระบวนการแบบไหน                                                                                

      ในเดือนพฤษภาคมจะมีการเปิดรับสมัคร แล้วการแข่งประกวดนี้จะเริ่มรอบแรกในเดือนมิถุนายน-สิงหาคม ประเมินจาก 3 หัวข้อหลักคือ ข้อเขียน,ความสามารถในการขาย, MSR เมื่อได้ผลการประเมินมาแล้ว จะเห็นได้ว่ามีประมาณ 31% ของสาขาทั้งหมด ที่เข้าสู่รอบ 2 จากนั้นเราจะเริ่มการแข่งขันรอบ 2 นี้ ในเดือนกันยายน หัวข้อการแข่งขันจะเป็น MSR และการเขียนบทความ ในการแข่งขันนี้เองจะได้ 15-20 สาขาที่จะเข้าร่วมแข่งในรอบ Semi-Final ซึ่งการแข่งขันระดับนี้จะเป็นที่ประจักษ์ในวงกว้าง

      เดือนตุลาคมมีการจัดแข่งรอบ Semi-Final โดยประเมินด้วยการแข่งบทบาทสมมุติ มี 12 สาขาที่ได้รับเลือกเข้าแข่งในรอบนี้ จากนั้นจะเป็นการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศมีหัวข้อการแข่งคือ บทบาทสมมุติและสุนทรพจน์ เป็นการแข่งขันภาพรวมในรูปแบบ GRAND PRIX 

โปรแกรม 31-PRIDE” มีจุดเด่นคือ เป็นการแข่งขันระยะยาวภายในบริษัท และเป็นการประเมินภาพรวมของร้านสาขาที่ทรงประสิทธิภาพ

 ความรู้สึกที่เห็นผลประเมินจากการใช้ MSR                                                        

    การใช้ MSR มีข้อดีก็คือ “เราได้รู้ว่าลูกค้ารู้สึกอย่างไร” เมื่อสำนักงานใหญ่ทำการตรวจพนักงาน จะต้องให้คนที่รู้งานของบริษัทเป็นอย่างดีอยู่แล้วเข้าไปตรวจสอบ อันนั้นก็จะมีข้อดีในเรื่องของการเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นในร้านค้าโดยตรง แต่การประเมินจากคนที่รู้เนื้อหาของงานเป็นหลักแบบนี้ อาจจะส่งผลให้การประเมินออกมามีความคลาดเคลื่อนได้ ในทางกลับกัน MSR มีการประเมินอย่างตรงไปตรงมาผ่านสายต่อของลูกค้า ทำให้ไม่เกิดการวิจารณ์ในตัวงานมากเกินไปและได้รับความคิดเห็นที่มีต่อการบริการอย่างแท้จริง

    และ MSR เองถือว่ามีความคิดเห็นที่มีความเป็นบวก จากสายตาของลูกค้าคาดหวังที่จะเห็นพนักงานบริการได้ดียิ่งขึ้นเพื่อที่ตนเองจะได้มีความพึงพอใจมากขึ้น พนักงานจะปรับปรุงแก้ไขอย่างตรงจุด ในส่วนของสำนักงานใหญ่เคยพูดคุยไว้ว่า “ถ้าคอมเมนต์แบบนี้ ที่สาขาน่าจะยอมรับได้ดีกว่า” และผู้จัดการเองได้บอกว่า “ลูกค้าเขียคอมเมนต์อย่างชัดเจน ทำให้เห็นจุดต่างๆอย่างชัดเจนมากขึ้น เป็นสิ่งที่ดีมาก”

    อย่างเช่นสมมุติว่ามีระบุมาว่า “เสียงที่พูดเบาไป” แน่นอนว่าทางร้านจะตกใจจากคอมเมนต์นี้ แต่ว่าหลังจากนั้นสิ่งที่ทำจะต้องไม่ใช่การหาคนที่โดนคอมเมนต์แบบนี้เพียงอย่างเดียว แต่ว่าทุกคนจะต้องมาดูว่าภาพรวมของสาขามีจุดอ่อนตรงนั้นจริงไหม จากนั้นจึงรีบฝึกฝนการออกเสียงให้ชัดเจน เพื่อให้เสียงดังฟังชัดโดยอัตโนมัติ เมื่อได้รายงานมาแล้วสนุกที่จะแก้ไขให้ดีขึ้นแบบนี้ ร้านสาขาก็จะสนุกกับการรอผลสำรวจไปโดยปริยาย ทั้งนี้ยังมีพนักงานให้ความเห็นว่า “ได้เห็นภาพชัดขึ้นว่าปกติตัวเองให้บริการลูกค้าอย่างไร” พร้อมกับบอกกันภายในว่า “จะยุ่งแค่ไหนก็ให้นึกอยู่เสมอว่ามีคนดูการทำงานของเราอยู่” นี่ถือว่าเป็นผลดีจาก MSR ที่ทำให้พนักงานคิดถึงลูกค้ามากยิ่งขึ้น

 

 "Clean&Smile" และ "Excellent Staff Challenge" เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นว่า  "31-PRIDE" ควรที่จะเติบโตไปในทิศทางไหน                                                                 

    การจัดงานในครั้งนี้เรียกว่าเป็นอีเวนท์ที่จะเสริมสร้างให้พนักงานมีแรงจูงใจมากยิ่งขึ้น แต่เราไม่ได้หยุดแค่นั้น เราคาดหวังให้อีเวนท์นี้เป็นเวทีชี้นำปรัชญาการทำงานของบริษัทให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จากที่ได้อธิบายดังกล่าว ”31-PRIDE” จะต้องมีการแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ นอกจากจะแข่งบทบาทสมมุติแล้วเรายังมีการทำให้แข่งสุนทรพจน์ด้วย การทำแบบนั้นจะส่งผลให้ได้เห็นมุมมองของพนักงานที่มีต่อแบรนด์ หรือที่มีต่องาน ารแข่งสุนทรพจน์นี้เป็นการนำเสนอและแบ่งปันความรู้สึกของตนที่ไม่ได้มีการเอ่ยถึงในการแข่งบทบาทสมมุติ รวมไปถึงว่าการกล่าวสุนทรพจน์นี้เป็นอีกเวทีหนึ่งที่สามารถส่งผ่านความรู้สึกขอบคุณที่พนักงานมีต่อเพื่อนร่วมงานหรือคนรอบข้าง

    จากการแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศนี้เองเราจะได้รู้ว่า “พนักงานมีความสำคัญมากแค่ไหน” เพื่อการนั้นเราได้ส่งเสริมให้พนักงานหลายๆ ท่านได้มีส่วนร่วมในงานครั้งนี้ สิ่งที่คาดหวังในเส้นชัยของการประกวดครั้งนี้คือ “พนักงานและผู้จัดการ สามารถร่วมมือกันแบ่งสรรปันสุขให้กันและกันในฐานะเทอร์ตี้วันแฟมิลี่”

      และในอนาคตเอง ถ้าเราสามารถส่งต่อปรัชญานี้ให้ผู้คนได้ก็จะยิ่งดี ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัวของพนักงาน หรือท่านที่มีความสนใจเทอร์ตี้วันไอศกรีมนี้ ได้เห็นว่าพนักงานของเรามีการเติบโตอย่างไรเป็นสิ่งหนึ่งที่ผมคาดหวังเช่นกัน แน่นอนว่าหลังจากนี้ไปเมื่อเรื่องราวอีกมากมายที่ต้องทำ ผมเชื่อว่าสิ่งที่เราสร้างในวันนี้ คือสัญลักษณ์ของ HAPPY TREE อย่างแท้จริง

 

“We make people happy.”(ส่งผ่านความสุข ด้วยไอศกรีม)

นี่คือปรัชญา「HAPPY TREE」ของพวกเรา

 

 ********